เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 9. สันธสูตร
‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ เพราะม้าอาชาไนยที่ดีย่อมพิจารณาเห็นการถูกประตักแทง
เหมือนคนเป็นหนี้คิดถึงหนี้ เหมือนคนถูกจองจำมองเห็นการจองจำ เหมือนคน
เสื่อมทรัพย์นึกถึงความเสื่อมทรัพย์ เหมือนคนมีความผิดเล็งเห็นความผิด ฉันใด
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง
ก็ดี ไม่มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะครอบงำอยู่ รู้วิธีที่จะสลัดกามราคะ
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ไม่มีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกถีนมิทธะ
กลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูก
วิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และรู้วิธีที่จะสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
บุรุษอาชาไนยนั้นย่อมไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัยธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง
ไม่อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตน-
ฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง
แต่ย่อมเพ่ง1
สันธะ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์ย่อมนอบน้อม
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้น ๆ ได้
เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสันธะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งย่อมเพ่งอย่างไร คือ
บุรุษอาชาไนยนั้น ไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัยธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง ไม่

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงเพ่งด้วยผลสมาบัติ มีนิพพานเป็นอารมณ์ (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/9/383)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :404 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 9. สันธสูตร
อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตน-
ฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง แต่
ย่อมเพ่ง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์
ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้น ๆ ได้
เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สันธะ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญมีสัญญาในธาตุดินว่า
เป็นธาตุดินแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาใน
ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในธาตุลมว่าเป็นธาตุลมแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
แจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้แจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในโลกหน้าว่าเป็น
โลกหน้าแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจแจ่มแจ้งแล้ว
สันธะ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญมีปกติเพ่งอย่างนี้แล ไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัย
ธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง ไม่อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌาน
เพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่
อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :405 }